ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ Rawinnipa ได้แล้วคะ

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาวะโลกร้อน


ภาวะโลกร้อน(Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ? 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม อ่านต่อ...http://www.greentheearth.info/

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย


การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

1. ด้านการเมืองการปกครอง 
       ตั้งแต่สมัยสุโขทัยได้มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ต่อมาในสมัยอยุธยาเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจปกครองและบริหารราชการแผ่นดิน  ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มมีการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกมา ใช้ตั้งแต่สมัยราชกาลที่  5  จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขโดยประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ร่วมกันเลือก นายกรัฐมนตรี จากบรรดาสมาชิกผู้แทนราษฎร เพื่อจัดตั้งเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ  
 2. ด้านเศษฐกิจ         ในสมัยสุโขทัยการดำเนินการทางเศษฐกิจจะเป็นลักษณะของการให้เสรีภาพประชาชนในเรื่องการค้าขาย  ประกอบอาชีพ มีการยกเว้นภาษี และมีการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน ต่อมาในสมัย อยุธยาเริ่มมีตัวแทนรัฐในการทำการค้ากับต่างชาติ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการติดต่อกับชาวต่างชาติ  โดยการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ  ทำให้เศษฐกิจขยายตัวมากขึ้นตั้งแต่  พ.ศ.2475  เป็นต้นมา  มีการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม  อ่านต่อ...http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2111

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สึนามิ


คลื่นสึนามิ
 (ญี่ปุ่น津波 tsunami สึนะมิ, "คลื่นที่ท่าเรือ" หรือ "คลื่นชายฝั่ง" ?) เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่น (รวมทั้งการจุดระเบิดวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น[1]
คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเลตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์ (tidal wave) โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train)[2] ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดียอ่านต่อ...http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B6%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4